Saturday, March 19, 2022

[Botany • 2022] Garcinia santisukiana (Clusiaceae) • A New Species from Thailand



Garcinia santisukiana Ngerns. & Suddee, 

in Ngernsaengsaruay & Suddee, 2022. 
ยางอึ่ง, นวลสันติสุข  ||  DOI: 10.1007/s12225-021-09979-8
 
Garcinia santisukiana Ngerns. & Suddee (Clusiaceae), a new species discovered from Pha Taem National Park, Ubon Ratchathani Province, eastern Thailand, is described. A detailed description and illustration of the species are provided, along with information on recognition, distribution, specimens examined, habitat, conservation status, phenology, etymology, vernacular name and uses.

Key Words: Edible fruits, Pha Taem National Park, species nova, taxonomy.




    

  


Garcinia santisukiana Ngerns. & Suddee

ETYMOLOGY. The specific epithet is in honour of the late Prof. Dr Thawatchai Santisuk (1944 – 2020), one of Thailand’s most widely respected plant taxonomists. He taught the botany components of courses in plant systematics and advanced plant taxonomy when the first author was an undergraduate student and a graduate student at Kasetsart University. He was the former co-advisor of the first author in his doctoral degree at Kasetsart University. He was a superb botanist and ecologist, as well as, a brilliant teacher, actively involved in many aspects of botanical science in Thailand.

VERNACULAR NAME. Nuan santisuk (นวลสันติสุข) (suggested here); yang ueng (ยางอึ่ง) (Ubon Ratchathani, local people around Dong Na Tham Forest).

 
Chatchai Ngernsaengsaruay and Somran Suddee. 2022. Garcinia santisukiana (Clusiaceae), A New Species from Thailand. Kew Bulletin. DOI: 10.1007/s12225-021-09979-8

นวลสันติสุข Garcinia santisukiana Ngerns. & Suddee  
วงศ์ Clusiaceae (Guttiferae) นวลสันติสุขเป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 5–18 ม. เส้นรอบวง 20–85 ซม. กิ่งเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากตามแนวนอน เป็นสี่เหลี่ยม เปลือกแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลอมเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยางสีเหลืองอ่อน เหนียว 
.
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5–4.3 ซม. 
ยาว 2.7–9.7 ซม. ปลายแหลม บางครั้งเว้าบุ๋ม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 9–14 เส้น ปลายโค้งจดกับเส้นถัดขึ้นไปเป็นวงรอบใกล้ขอบใบและเป็นเส้นขอบใน มีเส้นใบระหว่างเส้นแขนงใบ เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นไม่ชัดทั้ง 2 ด้าน มีต่อมเป็นจุดสีดำทั้ง 2 ด้าน และมีเส้นลักษณะเป็นคลื่นเรียงเกือบขนานกับเส้นกลางใบ อยู่ระหว่างเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 0.5–1.3 ซม. ใบสดเปราะ เมื่อขยี้ ใบอ่อนสีแดงหรือสีน้ำตาลอมแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน เป็นมัน
.
ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกหรือดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบที่ใบร่วงแล้ว ดอกบานมีกลิ่นหอมอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–7 มม. ก้านดอกสีเขียว ใบประดับ 4 ใบ สีเขียว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 4 กลีบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ส่วนมากเป็นช่อดอกแบบช่อกระจุก แต่ละกระจุกมี 3–5 ดอก กลีบเลี้ยงรูปครึ่งวงกลม กว้าง 1–1.5 มม. ยาวประมาณ 1 มม. ปลายมนกลม กลีบดอกรูปไข่กลับ กว้าง 2.2–3.2 มม. ยาว 3–5 มม. ลักษณะเป็นแอ่ง ปลายมนกลม เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็น 4 กลุ่ม สีขาวนวล ก้านชูอับเรณูสั้นมาก อับเรณูขนาดเล็กมาก เกสรเพศเมียที่เป็นหมันรูปเห็ด ยาว 3–3.6 มม. ยอดเกสรเพศเมียสีเหลืองอ่อน ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อดอกแบบช่อกระจุก แต่ละกระจุกมี 3–5 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเท่ากัน รูปครึ่งวงกลม กว้าง 1–2 มม. ยาว 1–1.5 มม. ปลายมนกลม กลีบดอกรูปค่อนข้างกลมหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2.5–3.5 มม. ยาว 3–4 มม. ลักษณะเป็นแอ่ง ปลายมนกลม  เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน เชื่อมติดกันเป็น 4 กลุ่ม อยู่รอบโคนรังไข่ เกสรเพศเมียรูปเห็ด รังไข่สีเขียว รูปทรงค่อนข้างกลม กว้าง 1.8–2.2 มม. ยาว 1–2 มม. มี 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ไร้ก้านยอดเกสร
เพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียสีเหลืองอ่อน รูปครึ่งทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–2.2 มม. เป็นแฉกตื้น 4 แฉก มีปุ่มเล็ก
 
ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงค่อนข้างกลมหรือรูปทรงรูปไข่ กว้าง 1–2.5 ซม. ยาว 1.5–2.7 ซม. สีเขียว สุกสีแดง เกลี้ยง ผนังผลหนาประมาณ 0.8 มม. มีกลีบเลี้ยงติดทน ขนาดเล็ก ยอดเกสรเพศเมียติดทน
สีน้ำตาลอมดำ แบน เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–2.2 มม. เป็นแฉกตื้น 4 แฉก 
ก้านผลยาว 1.5–2.5 มม. มีเมล็ด 1–2 เมล็ด มีลายสีน้ำตาลสลับกับสีน้ำตาลอ่อน ด้านหนึ่งแบน มีขั้วเมล็ดเห็นชัด อีกด้านหนึ่งนูนเล็กน้อย รูปรีหรือ
รูปขอบขนาน กว้าง 1–1.5 ซม. ยาว 1.5–2 ซม. ปลายมนกลมทั้ง 2 ด้าน เปลือกเมล็ดชั้นนอกเป็นเนื้อนุ่ม สีเหลือง อาจมีเมล็ดฝ่อ
 
นวลสันติสุขมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศทางภาคตะวันออก พบตามป่าดิบแล้ง (บริเวณป่าดงนาทาม) และป่าเต็งรังบนหินทราย (บริเวณผาชนะได) อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี [อ้างอิงตามการแบ่งเขตการกระจายพันธุ์ของพรรณพืชในประเทศไทย (Thailand floristic regions)] ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 400 ม. ออกดอกเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม เป็นผลเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม และกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ในต่างประเทศคาดว่าพบที่ลาว