Monday, August 19, 2019

[Botany • 2019] Mitrephora chulabhorniana (Annonaceae) พรหมจุฬาภรณ์ • An Extraordinary New Species from A Karst Habitat of southern Thailand


Mitrephora chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku

in Damthongdee, Aongyong & Chaowasku, 2019. 
พรหมจุฬาภรณ์ || DOI: 10.1007/s12228-019-09573-0 

Abstract
Mitrephora chulabhorniana, a remarkable new species with the smallest flowers in the genus, is described and illustrated. The new species, from a karst habitat of southern Thailand, morphologically most resembles M. andamanica, which is endemic to the Middle and North Andaman Islands, but differs primarily by having narrower leaves, shorter inner petals, and lower number of stamens and carpels per flower. The conservation status of M. chulabhorniana is assessed and a key to the species of Mitrephora in Thailand is given.

Keywords: Limestone, morphology, new species, Southeast Asia, taxonomy 



Flowers and fruit of Mitrephora chulabhorniana.
 A. Flower at female anthesis, viewed from below. B. Flower at early male anthesis, side view. C. Flower at late male anthesis, viewed from above, showing abaxial surface of sepals and outer petals. D. Flower at late male anthesis, side view, showing reflexed outer petals.
Photographs by Nakorn Chaowasku.



Mitrephora chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku, sp. nov. 

Etymology.— The epithet is to honor HRH Princess Chulabhorn, the youngest daughter of the late King Rama IX of Thailand. Princess Chulabhorn has a strong interest in science and has initiated the establishment of the “Chulabhorn Research Institute” principally to promote and conduct basic as well as applied scientific research of national importance for the improvement of mankind’s quality of life. One of her areas of expertise is the field of “natural products”, and the new species herein described might contain bioactive compounds (as evidenced by previous studies on other species of Mitrephora, e.g. Zgoda-Pols et al., 2002; Li et al., 2009; Mueller et al., 2009; Moharam et al., 2010; Rayanil et al., 2013), possibly leading to the discovery of new drugs.



    


    

     


Anissara Damthongdee, Kithisak Aongyong and Tanawat Chaowasku. 2019. Mitrephora chulabhorniana (Annonaceae), An Extraordinary New Species from southern Thailand. Brittonia. DOI: 10.1007/s12228-019-09573-0
     




คณะวิทย์ มช. ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์”  
worldvarietynews.com/cmu-chulabhorniana/

การค้นพบพืชชนิดนี้ สืบเนื่องจากคณะนักวิจัย นำโดย อาจารย์ ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมด้วยนางสาวอานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายกิติศักดิ์ อ๋องย่อง นักวิจัยอิสระ ได้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพรรณไม้วงศ์กระดังงา ในประเทศไทยที่หายากและยังไม่เป็นที่รู้จัก เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” ซึ่งโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหนังสือพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนบางส่วนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

การวิจัยครั้งนี้ได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ในสกุล "มหาพรหม" จากป่าบนเขาหินปูนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งพืชชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 2 เมตร มีดอกขนาดเล็กที่สุดในสกุล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร สีขาวเด่น และเปลี่ยนเป็นสีครีมเมื่อดอกมีอายุมากขึ้น มีกลิ่นหอมปานกลางคล้ายกลิ่นดอกโมก กลีบดอกชั้นในประกบกันเป็นรูปโดม โคนกลีบคอด เผยให้เห็นช่องว่างระหว่างกลีบ ผลเมื่อสุกสีแดงอมส้ม

ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงสนพระทัยการศึกษาวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์เคมี วิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้กราบทูลขอพระราชทานนามไทย “พรหมจุฬาภรณ์” สำหรับพืชชนิดใหม่ของโลกชนิดนี้ และกราบทูลขอพระราชทานนามระบุชนิด “chulabhorniana” เพื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitrephora chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku

การค้นพบ "พรหมจุฬาภรณ์" ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Brittonia เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นพันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งยวด พบเพียงไม่กี่ต้น บริเวณป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่นอกเขตอนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบบนิเวศเขาหินปูนนั้นเป็นระบบนิเวศที่เปราะบาง และมักพบสิ่งมีชีวิตที่จำเพาะ กล่าวคือ ไม่พบที่อื่นใดอีก เมื่อถูกคุกคามมีโอกาสสูญพันธุ์สูง เขาหินปูนลูกที่พบต้นพรหมจุฬาภรณ์นี้มีโอกาสถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากการขยายตัวของสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งการระเบิดหินปูนเพื่อการใช้ประโยชน์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งประชาชนคนไทยทุกคนจะต้องช่วยกันอนุรักษ์