Australo-Papuan blindsnake genus, Anilios in Tiatragul, Skeels et Keogh, 2024. |
Abstract
Understanding how continental radiations are assembled across space and time is a major question in macroevolutionary biology. Here, we use a phylogenomic-scale phylogeny, a comprehensive morphological dataset, and environmental niche models to evaluate the relationship between trait and environment and assess the role of geography and niche conservatism in the continental radiation of Australian blindsnakes. The Australo-Papuan blindsnake genus, Anilios, comprises 47 described species of which 46 are endemic to and distributed across various biomes on continental Australia. Although we expected blindsnakes to be morphologically conserved, we found considerable interspecific variation in all morphological traits we measured. Absolute body length is negatively correlated with mean annual temperature, and body shape ratios are negatively correlated with soil compactness. We found that morphologically similar species are likely not a result of ecological convergence. Age-overlap correlation tests revealed niche similarity decreased with the relative age of speciation events. We also found low geographical overlap across the phylogeny, suggesting that speciation is largely allopatric with low rates of secondary range overlap. Our study offers insights into the eco-morphological evolution of blindsnakes and the potential for phylogenetic niche conservatism to influence continental scale radiations.
Scolecophidia, niche conservatism, ecological niche model, nonadaptive radiation, reptiles, speciation
Sarin Tiatragul, Alexander Skeels, J Scott Keogh. 2024. Morphological Evolution and Niche Conservatism Across A Continental Radiation of Australian Blindsnakes. Evolution. 78(11); 1854–1868. DOI: doi.org/10.1093/evolut/qpae132
งานวิจัยเชิงประจักษ์หลายงานที่ศึกษาในพื้นที่ที่ถูกจำกัดทางภูมิศาสตร์อย่างเช่นเกาะในมหาสมุทร บ่งชี้ว่าการสงวนชีพพิสัย (niche conservatism) เป็นหนึ่งในคุณลักษณะทั่วไปของการแตกแขนงของสายวิวัฒนาการประเภทนี้ ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลทางด้านวิวัฒนาการชาติพันธุ์จากจีโนม ข้อมูลทางด้านสัณฐาน และแบบจำลองชีพพิสัยทางสิ่งแวดล้อมของงูดินในออสเตรเลียเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่าง ๆ ของงูดินกับสิ่งแวดล้อม และบทบาทของสภาพภูมิศาสตร์กับการสงวนชีพพิสัยที่มีต่อการเกิดสปีชีส์ใหม่ของงูดินในออสเตรเลีย ซึ่งมีทั้งหมด 46 สปีชีส์ กระจายตัวในทุกชีวนิเวศของออสเตรเลียโดยอาศัยอยู่ใต้ดิน จากการประเมินพบว่าลักษณะทางสัณฐานของงูดินแต่ละชนิดในออสเตรเลียมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ความยาวของลำตัวมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีของภูมิภาคต่าง ๆ และอัตราส่วนของรูปร่างมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความแน่นของดิน จากการประเมิน Age-overlap correlation test พบว่าความคล้ายคลึงกันของชีพพิสัยลดลงเทียบกับช่วงเวลาสัมพัทธ์ของการเกิดสปีชีส์ใหม่ แต่ละวงศ์วานวิวัฒนาการของงูดินในออสเตรเลียมีการทับซ้อนทางภูมิศาสตร์ในระดับต่ำ งานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการวิวัฒนาการของงูดินในด้านสัณฐานและนิเวศวิทยาในเชิงลึก และชี้ให้เห็นถึงความสามารถของการสงวนชีพพิสัยในระดับวงศ์วานวิวัฒนาการหนึ่ง ๆ ที่มีผลต่อการแตกแขนงของสายวิวัฒนาการในระดับทวีปได้