Sunday, February 13, 2022

[Crustacea • 2022] Brachyuran Crabs (Decapoda) in the Limestone Caves of Thailand, with A Checklist of Freshwater Cave-dwelling Crabs in Southeast Asia


Habitus of cave-dwelling crabs in the northern and western Thailand. 
A: Pupamon sp. ♀  
B: Stelomon erawanense ♂ 
D: Kanpotamon duangkhaei ♂ 
A: Sayamia germaini ♂ 
B: Siamthelphusa acutidens ♂ 
C: Indochinamon lipkei ♂  
in Promdam, Ellis & Jantarit, 2022.

Abstract
 Freshwater brachyuran crabs in the limestone caves of northern and western Thailand were studied. Overall, 65 caves in nine provinces were investigated. The crabs obtained were referred to six species of six genera in two families. A checklist and the distribution of freshwater cave-dwelling crabs in Thailand and Southeast Asia are also provided. In Thailand at least 16 species of 14 genera in two families are recognized. On a broader scale, a total of at least 70 cave-dwelling crab species of 36 genera in three families are recorded in Southeast Asia. The majority are in the family Gecarcinucidae (14 genera, 43 species), followed by the families Potamidae (19 genera, 24 species) and Hymenosomatidae (3 genera, 3 species). The troglofaunal status for each species is also given. 

Key words: distribution, freshwater crabs, karst, Southeast Asia, subterranean environment, troglomorphy 


Habitus of cave-dwelling crabs in the northern and western Thailand. 
A: Pupamon sp. ♀  
B: Stelomon erawanense ♂ 
D: Kanpotamon duangkhaei ♂ 
A: Sayamia germaini ♂ 
B: Siamthelphusa acutidens ♂ 
C: Indochinamon lipkei ♂  


Rueangrit Promdam, Martin Ellis and Sopark Jantarit. 2022. Brachyuran Crabs (Crustacea: Decapoda) in the Limestone Caves of Thailand, with A Checklist of Freshwater Cave-dwelling Crabs in Southeast Asia. Edaphologia. 110: 1–17. 

...
สำหรับชนิดของปูน้ำจืดที่พบในถ้ำในประเทศไทย จากการรวบรวมรายงานการพบในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 16 ชนิด จาก 14 สกุล และ 2 วงศ์ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มชนิดที่ประชากรโดยทั่วไปอาศัยอยู่ภายนอกถ้ำ แต่มีการปรับตัวเข้าไปใช้ถ้ำเป็นแหล่งหลบภัยและแหล่งหากิน โดยยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นสัตว์ถ้ำแท้ (troglobite หรือ stygobite) โดยมีบางชนิดที่มีลักษณะที่ผ่านการวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ในถ้ำได้เป็นอย่างดีด้วยลักษณะของขาที่เรียวยาวมาก กระดองค่อนข้างแบน และมีด้านบนแบนราบ ได้แก่ ปูถ้ำอาจารย์ไพบูลย์ Phaibulamon stilipes ปูเขาหินปูนอาจารย์สุรพล Kanpotamon duangkhaei ปูถ้ำพิทักษ์ Thampramon tonvuthi, ปูเขาหินปูนสตูล Terrapotamon longitarsus และ ปูเขาหินปูนทุ่งหว้า T. thungwa ซึ่งอาศัยลักษณะพิเศษนี้ในการปีนป่ายหิน และแทรกตัวผ่านรอยแตกของหินปูนเข้าไปในถ้ำได้ ปูเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า troglophile หรือ stygophile ในชนิดของไทยดังกล่าวนี้ การค้นพบปูเขาหินปูนอาจารย์สุรพลนับเป็นการรายงานการพบครั้งที่ 2 หลังจากที่มีรายงานครั้งแรกเมื่อเมื่อปีพ.ศ. 2536 ส่วนภาพรวมในประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมที่พบในประเทศไทยสามารถรวบรวมรายชื่อปูน้ำจืดที่พบในถ้ำได้ทั้งสิ้น 70 ชนิด จาก 36 สกุล และ 3 วงศ์ โดยมีจำนวนชนิดที่พบในประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซียประเทศมากที่สุดประเทศล่ะ 17 ชนิด ซึ่งนับว่าประเทศไทยก็มีรายงานจำนวนชนิดไม่แตกต่างกันมากนัก

อย่างไรก็ตามทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีแหล่งถ้ำหินปูนอีกมากมายที่ยังไม่ถูกสำรวจ หรือแม้แต่มีการสำรวจแล้วแต่ยังไม่ละเอียดทั่วถึงและไม่ครอบคลุมฤดูกาล ทำให้คาดว่ายังคงมีชนิดปูที่อาศัยในถ้ำตกสำรวจอีกหลายชนิด ทั้งที่เป็นปูถ้ำแท้และที่ใช้ถ้ำเป็นแหล่งพักพิงชั่วคราว การสำรวจและศึกษาวิจัยปูถ้ำของนายเรืองฤทธิ์ และผศ.ดร. โสภาค จึงยังไม่สิ้นสุดที่บทความตีพิมพ์ฉบับนี้ ล่าสุดจากการสำรวจอุโมงค์ที่ถูกขุดขึ้นในเขาหินปูนในจ.กาญจนบุรี ได้พบปูน้ำจืดที่มีลักษณะขาเรียวยาวเพิ่มเติมอีกชนิดภายในอุโมงค์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากชนิดที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่เดียวกัน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบทางอนุกรมวิธานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านปูน้ำจืดชาวสิงคโปร์ 

...