'มะลิเฉลิมนรินทร์' Jasminum bhumibolianum Chalermglin “มะลิเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน” |
Abstract
In revising the distribution and conservation status of Jasminum in Thailand, a new species, Jasminum bhumibolianum Chalermglin, was discovered in NE Thailand. It is described and illustrated and its conservation status is assessed as Critically Endangered.
Keywords: Critically Endangered; Jasminum; OLEACEAE; Thailand
Similar to Jasminum extensum and J. pierreanum in its leaves, Jasminum bhumibolianum is different from them in its calyx lobes 3–4 mm long (not 0.25–1 mm long), its short corolla 12–15 mm long (not 15–22 mm long) and its broader corolla lobes 3–4 mm wide (not 1–2 mm wide).
Etymology. The species is dedicated to His Majesty King Bhumibol Adulyadej on his 84th anniversary in recognition of the great efforts he has made to conserve native plants in Thailand.
Distribution — Endemic to Loei Province, north-eastern Thailand. Known only from the type locality.
Ecology — In mixed deciduous forest, growing in a gully on a karst limestone mountain. Altitude 715 m. Flowering July-September; fruiting November-January.
Vernacular name — Mali Chaloem Narin (มะลิเฉลิมนรินทร์).
“มะลิเฉลิมนรินทร์” พรรณไม้พระราชทานนามชนิดใหม่ของโลก
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โชว์พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในสกุลมะลิที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนาม “มะลิเฉลิมนรินทร์” เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ พร้อมจัดทำเข็ดกลัดที่ระลึกจำหน่ายในงานเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 50 ปี วว. มอบรายได้ส่วนหนึ่งสมทบทุนสภากาชาดไทย
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการ วว. กล่าวชี้แจงว่า วว. ได้ทำการสำรวจพบมะลิเฉลิมนรินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2552 ณ เนินเขาหินปูนเตี้ยๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 715 เมตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทั้งนี้ได้ทำการตรวจสอบพรรณไม้ดังกล่าวร่วมกับ Ms. Ruth Kiew ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะลิชาวอังกฤษ ที่มาปฏิบัติงานอยู่ในหอพรรณไม้ Forest Research Institute of Malaysia (FRIM) ประเทศมาเลเซีย จึงได้ร่วมกันเขียนรายงานเตรียมลงตีพิมพ์ในวารสารการจำแนกพรรณไม้นานาชาติ Blumea แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2554 ทั้งนี้ วว. ได้ขอพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum bhumibolianum Chalermglin และชื่อภาษาไทย คือ มะลิเฉลิมนรินทร์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 มีความหมายว่า มะลิเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
มะลิเฉลิมนรินทร์ ค้นพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียว (endemic) ของประเทศไทย ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ (rare & endangered) จัดอยู่ในสกุลมะลิ (Genus Jasminum) วงศ์มะลิ (Family Oleaceae) มีลักษณะเด่นแตกต่างจากมะลิพื้นเมืองและมะลิชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกคือ มีกลีบเลี้ยง แหลม หนาแข็งขนาดใหญ่จำนวน 4-5 ซี่ รองรับดอกสีขาวที่มีกลีบดอก 6-8 กลีบและมีกระเปาะเกสรเพศผู้สีเหลืองเด่นชัด กระจายพันธุ์อยู่บนเนินเขาหินปูนเตี้ยๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 715 เมตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ลักษณะโดยทั่วไปของมะลิเฉลิมนรินทร์ เป็นไม้เถาเลื้อยได้ไกล 1-2 เมตร กิ่งยอดเรียวเล็ก เรียบ ใบรูปรีหรือรูปหอกกว้าง โคนใบเว้า ปลายใบเป็นตุ่มแหลม ใบหนา เหนียวสีเขียวเข้มเป็นมัน กว้าง 3-3.5 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร เส้นแขนงใบมี 3-4 คู่เห็นไม่เด่นชัด ก้านใบยาว 4-5 มิลลิเมตร มีใบประดับเรียวยาว 5-6 มิลลิเมตร ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งยอดหรือปลายกิ่งข้าง มีดอกย่อย 7-13 ดอก กลีบเลี้ยง แหลม หนาแข็งขนาดใหญ่จำนวน 4-5 ซี่ ยาว 3-4 มิลลิเมตร หลอดกลีบดอกยาว 12-15 มิลลิเมตร ตอนบนมีกระเปาะเกสรเพศผู้สีเหลืองเด่นชัด กลีบดอกสีขาว 6-8 กลีบ แต่ละกลีบกว้าง 3-4 มิลลิเมตร ยาว 10-12.5 มิลลิเมตร ปลายกลีบเป็นติ่งแหลมสั้น ผลกลมรี 1-2 ผล กว้าง 9 มิลลิเมตร ยาว 11 มิลลิเมตร เมื่อสุกสีดำ เป็นมะลิที่เจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับมะลิชนิดอื่นๆ ออกดอกบานในช่วงเดือน กรกฎาคมถึงกันยายน ส่งกลิ่นหอมแรง มีผลแก่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
Chalermglin, P. and Kiew, R. 2013. A new species of Jasminum (Oleaceae) from Thailand. Blumea - Biodiversity, Evolution and Biogeography of Plants. 58 (3); 80-81. DOI: 10.3767/000651913X673216