Wednesday, August 2, 2017

[Botany • 2017] Kaempferia noctiflora • A New Species (Zingiberaceae) from Northern Thailand


Kaempferia noctiflora Nopporncharoenkul & Jenjitt. 

เปราะดอกขาวเชียงใหม่ | DOI:  10.11646/phytotaxa.316.1.6 

Abstract

Kaempferia noctiflora, another precocious flowering species of Kaempferia subgen. Protanthium (Zingiberaceae) from Northern Thailand is described and illustrated. Pure white flowers with nocturnal anthesis and a tinged purplish red patch along the midvein of the upper surface of the leaves are the unique characters of this new taxon. The morphological characters of K. noctiflora are compared to closely related species and a key to Thai precocious flowering Kaempferia species is also provided.

Keywords: Chiang Mai province, endemic species, new taxa, precocious flowering Kaempferia, taxonomy, Monocots




Nattapon Nopporncharoenkul and Thaya Jenjittikul. 2017. Kaempferia noctiflora (Zingiberaceae), A New Species from Northern Thailand.
 Phytotaxa.  316(1); 67–72. DOI:  10.11646/phytotaxa.316.1.6



Kaempferia noctiflora Nopporncharoenkul & Jenjitt. 
เปราะดอกขาวเชียงใหม่

พืชชนิดใหม่ของโลก...ถูกค้นพบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่และตีพิมพ์ตามหลักอนุกรมวิธานพืชโดย ผศ.ดร. ทยา เจนจิตติกุล และ นายณัฐพล นพพรเจริญกุล จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำหรับ specific epithet “noctiflora” มาจากคำภาษาละติน “noctis” ซึ่งแปลว่า night (กลางคืน) และคำว่า “flos/floris” ในภาษาละตินหมายถึง flower (ดอกไม้) 
บ่งบอกถึงลักษณะเด่นของพืชชนิดนี้ซึ่งมีดอกที่บานตอนกลางคืนและยังเป็นลักษณะสำคัญที่ใช้ในการจัดจำแนกออกจากพืชชนิดอื่น
“เราเดินทางจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ในตอนเย็น จากนั้นลงพื้นที่ต่อเพื่อศึกษาลักษณะและเวลาการบานของเปราะดอกขาวเชียงใหม่ เช้าวันรุ่งขึ้นก็กลับมาอีกครั้งเพื่อเก็บรายละเอียดที่เหลือเพิ่มเติม” เนื่องจากดอกของเปราะดอกขาวเชียงใหม่บานเต็มที่ในช่วงหัวค่ำ ทำให้การลงพื้นที่สำรวจพืชชนิดนี้เกิดขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน
ถึงอย่างนั้น...ความยากความท้าทายของการสำรวจไม่ใช่เพียงแค่การลงพื้นที่ในตอนกลางคืน แต่เป็น “เวลา” อีกด้วย
ดอกพืชชนิดนี้ออกเหนือดินในขณะที่ไม่มีใบและออกใบตอนที่ไม่มีดอก หรือพูดง่ายๆ ว่า เห็นดอกไม่เห็นใบ เห็นใบไม่เห็นดอก หรืออาจจะไม่เห็นทั้งดอกและใบ เพราะมีช่วงพักตัวใต้ดินยาวถึง 8 เดือน ยังไม่พอ...พืชชนิดนี้ยังมีระยะเวลาการออกดอกไม่เกิน 15 วัน (ในรอบปี) และในแต่ละปี first flowering date ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศอีกด้วย ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราเดินทางไปสำรวจผิดเวลา เราจะไม่เจออะไรเลย!
Phytotaxa Vol 316 No 1. DOI:  10.11646/phytotaxa.316.1