Friday, March 31, 2017

[Ornithology • 2017] Phylogeography of Bulbuls in the Genus Iole (Aves: Pycnonotidae)


S. Manawatthana, P. Laosinchai, N. Onparn, W.Y. Brockelman & P.D. Round. 2017.
 Phylogeography of Bulbuls in the Genus Iole (Aves: Pycnonotidae). 

Biol. J. Linn. Soc. 120(4); 931-944.  DOI:  10.1093/biolinnean/blw013 

Abstract
Southeast Asia is one of the most geologically dynamic regions of the world with great species diversity and high endemism. We studied the bulbuls of the south and southeast Asian genus Iole (Aves: Pycnonotidae) in order to analyse their evolutionary relationships and describe their patterns of diversification and delimit species boundaries. Our phylogeographic reconstruction, based on two mitochondrial and one nuclear markers, sampled from all 13 recognized Iole taxa, presently grouped as four species, revealing three primary lineages: (1) a Palawan lineage (2) a Sundaic group distributed in the Malay Peninsula, Sumatra and Borneo and (3) an Indochinese group distributed throughout continental Southeast Asia. Divergence time estimation suggested that the Palawan lineage diverged during the Miocene (around 9.7 Mya), a later split between the Sundaic and Indochinese lineages occurring around 7.2 Mya. The present classification of Iole based on morphology does not accurately reflect taxonomic relationships within the genus, in which we recognize five more putative species. An integrative approach that incorporates morphology and bioacoustics should further refine our understanding of species limits among Iole taxa.

Keywords: Iole, phylogeny, phylogeography, pycnonotidae, species tree



Sontaya Manawatthana, Parames Laosinchai, Nuttaphon Onparn,Warren Y. Brockelman and Philip D. Round. 2017. Phylogeography of Bulbuls in the Genus Iole (Aves: Pycnonotidae). Biol. J. Linn. Soc. 120(4); 931-944..  DOI:  10.1093/biolinnean/blw013


สรุปคร่าวๆเฉพาะส่วนของประเทศไทย 
นกปรอดสกุล Iole (อ่านว่า ไอโอลี่เดิมพบได้ในไทย 3 ชนิดคือ
1.) นกปรอดเล็กตาขาว (Grey-eyed Bulbul; Iole propinqua)
2.) นกปรอดเล็กสีไพลตาแดง (Olive Bulbul; Iole viridescens)
3.) นกปรอดหงอนตาขาว (Buff-vented Bulbul; Iole charlottae)
ทั้งสามชนิดมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงกันมาก 

ซึ่งผลจากการศึกษานี้ทำให้มีนกชนิดใหม่ของไทยเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชนิด คือ
4.) Baker’s Bulbul (Iole cinnamomeoventris; ยังไม่มีชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการ) 
- นกชนิดใหม่นี้เดิมถูกจัดเป็นเพียงชนิดย่อยของนกปรอดเล็กตาขาว เนื่องจากมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงปรอดเล็กตาขาวมากๆ จนหลายๆครั้งในภาคสนามไม่เห็นความแตกต่าง 
- แต่จากการวิเคราะห์ DNA พบว่ามันมีความแตกต่างในเชิงวิวัฒนาการมากจนสมควรจะแยกเป็นชนิดใหม่ และยังพบว่ามีสายวิวัฒนาการใกล้ชิดกับ ปรอดเล็กสีไพลตาแดง (แทนที่จะใกล้ชิดกับปรอดเล็กตาขาวอย่างที่ถูกจัดไว้เป็นชนิดย่อยเดิม) 
- พบในภาคใต้ของไทย บริเวณด้ามขวานตั้งแต่ราวๆ จ.เพชรบุรีลงไปถึงราวๆ จ.สงขลา
- ลักษณะที่ใช้จำแนกในภาคสนามได้ดีที่สุดคือเสียงร้อง จะต่างกับปรอดหงอนตาขาวที่ลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกันและพบในบริเวณภาคใต้เหมือนกัน
ตัวอย่างเสียงของ Iole cinnamomeoventris  http://www.xeno-canto.org/336909
ตัวอย่างเสียงของ ปรอดหงอนตาขาว Iole charlottae  http://www.xeno-canto.org/336936

- ชื่อ Baker's Bulbul ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ E. C. Stuart Baker นักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นคนแรกที่จำแนกชนิดย่อย cinnamomeoventris นี้ไว้เมื่อปี 1917 
--------------------------------

ถ้านับรวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมนกปรอดสกุลนี้มีทั้งหมด 4 ชนิด ผล DNA จากการศึกษานี้บ่งชี้ว่าควรจะจำแนกเพิ่มอีก 5 ชนิด รวมเป็น 9 ชนิด ใครสนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ในงานวิจัยฉบับเต็มครับ: academic.oup.com/biolinnean/article-abstract/120/4/931/2970060/Phylogeography-of-bulbuls-in-the-genus-Iole-Aves

ทั้งนี้ เปเปอร์แรกนี้จะเน้นเฉพาะผลจากการวิเคราะห์ DNA อาจจะอ่านยากสำหรับคนทั่วไปซักหน่อย ยังมีเปเปอร์ที่สองที่จะพูดถึงลักษณะภายนอก สีขน และผลการวิเคราะห์เสียงร้อง ที่ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมส่งตีพิมพ์ครับ