Monday, August 22, 2011

[Botany • 2009] new Thai Impatiens (ii) • เทียนพระบารมี Impatiens charisma, เหยื่อกุรัมใบเล็ก I. adenioides, เทียนดารณี I. daraneenae



เทียนพระบารมี Impatiens charisma Suksathan & Keerat.

Abstract
Ten new species of Impatiens (Balsaminaceae), Impatiens adenioides Suksathan & Keerat., I. charisma Suksathan & Keerat., I. daraneenae Suksathan & Triboun, I. doitungensis Triboun & Sonsupab, I. jiewhoei Triboun & Suksathan, I. oreophila Triboun & Suksathan, I. ruthiae Suksathan & Triboun, I. sirindhorniae Triboun & Suksathan, I. spectabilis Triboun & Suksathan, and I. tigrina Suksathan & Triboun from Thailand are described and illustrated.



เทียนพระบารมี Impatiens charisma Suksathan & Keerat.
พืชถิ่นเดียวของไทย เป็นไม้หัวอายุหลายปี ดอกสีเหลืองอ่อนพบตามเขาหินปูนในจังหวัดกาญจนบุรีและตาก

Etymology: The specific epithet, charisma - respect and loyalty earned by the performance of good deeds, is dedicated to our beloved king, His Majesty King Bhumibol Adulyadej, Rama IX of Thailand, who has been a tireless advocate for the nature and environment proposing guidelines on the principles of sustainable conservation and the development of natural resources.

Notes: This rare elegant balsam is one of the only two representative of tuberous species found in SE Asia (the other is Impatiens phengklaii Shimizu & Suksathan). In both species, the annual stems die back to the tuberous caudex at the end of the growing season (May-November). Impatiens charisma is easily distinguished from I. phengklaii by having winged stems, flat petioles and peduncles, and the broader upper pair of lateral united petals that at the base overlap to the lower one.


• เหยื่อกุรัมใบเล็ก Impatiens adenioides Suksathan & Keerat.
พืชถิ่นเดียวของไทย ลำต้นอวบน้ำ ใบหนา ดอกสีเหลืองสด พบตามเขาหินปูนในภาคใต้

• เทียนดอยตุง Impatiens doitungensis Triboun & Sonsupab
พืชถิ่นเดียวของไทย พบตามเขาหินปูนทางภาคเหนือ

• เทียนดารณี Impatiens daraneenae Suksathan & Triboun
พืชล้มลุกถิ่นเดียวของไทย ดอกสีชมพูอ่อน พบตามเขาหินปูนในจังหวัดเชียงใหม่




เทียนดารณี Impatiens daraneenae Suksathan & Triboun

ไม้ล้มลุก สูงได้ประมาณ 50 ซม. ลำต้นเกลี้ยง ใบเรียงสลับ รูปไข่ ยาวได้ประมาณ 6.5 ซม. ใบตามปลายกิ่งมีขนาดเล็กกว่าตามลำต้น ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปลิ่มหรือกลม บางครั้งเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างบาง เกลี้ยง ขอบใบจักซี่ฟัน ที่โคนมีต่อมยาว 2 ต่อม ก้านใบยาวได้ประมาณ 4 ซม. ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก2-3 ดอก ตามซอกใบ ดอกห้อยลง ก้านดอกยาวได้ประมาณ 1.5 ซม. ใบประดับขนาดเล็กติดที่โคนก้านดอก กลีบเลี้ยงกลีบข้าง 4 กลีบ กลีบคู่นอกรูปไข่เกือบกลม เบี้ยวเล็กน้อย ขนาดประมาณ 5 มม. กลีบคู่ในขนาดเล็ก รูปรี ยาวประมาณ 2 มม. กลีบปากเป็นถุง ยาวได้ประมาณ 2.5 ซม. ปากกว้างประมาณ 1.5 ซม. เรียวแคบด้านโคน เดือยพับงอ ยาวประมาณ 8 มม. ปลายเดือยหยักเป็นพูเล็กน้อย กลีบดอกกลีบกลางรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1 ซม. พับงอกลับ ปลายเป็นติ่งแหลม มีสันเป็นปีกที่โคนด้านนอกสั้นๆ กลีบปีกเชื่อมติดกัน บิดเบี้ยวชัดเจน กลีบคู่นอกรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2 ซม. เชื่อมติดกันประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ปลายแยกเป็นแฉก กลีบคู่ในรูปไข่กว้าง ยาว 0.7-1.3 ซม. ปลายกลีบเว้าตื้นๆ มีติ่งแหลมเล็กๆ แคปซูลรูปกระบอง ปลายเรียวแหลม ยาวประมาณ 1.5 ซม. เกลี้ยง

เทียนดารณีเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ (ดอยเชียงดาว) ขึ้นใต้ร่มเงาตามเขาหินปูนในป่าดิบแล้ง ระดับความสูงประมาณ 850 เมตร

หมายเหตุ ชื่อชนิดตั้งเป็นแก่คุณดารณี ดีโรจนวงศ์ ผู้ให้การสนับสนุนในการศึกษาพืชวงศ์เทียนของผู้ค้นพบ


Suksathan, P. and P. Triboun. 2009. Ten new species of Impatiens (Balsaminaceae) from Thailand. Gardens’ Bulletin Singapore. 61 (1): 159-184.

http://www.qsbg.org/database/webnews/NewsDetail.asp?News_ID=676

องค์การสวนพฤกษศาสตร์พบ 25 พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก: