Abstract
A new species of Cuora, Cuora chiangmuanensis sp. nov., is described on the basis of a nearly complete shell with limb bones from the late Middle – early Late Miocene Chiang Muan Mine, Phayao Province (Northern Thailand). C. chiangmuanensis is distinguished from other fossil and living Cuora species mainly on the basis of its plastral morphology. Among fossil and extant Cuora taxa, the new species appears to be a missing link between the taxa from Southeast Asia and those from East Asia. It represents the earliest record of the genus and demonstrates that by 11–12 Ma, Asian box turtles were already present in Southeast Asia.
Keywords: Cuora, Geoemydidae, Miocene, Thailand, evolution, Southeast Asia.
เต่าคูโอร่า เชียงม่วนเอนซิส เป็นเต่าน้ำจืดในสกุลเดียวกับเต่าหับปัจจุบัน แต่ชิ้นส่วนฟอสซิลที่ค้นพบนี้มีอายุประมาณ 11-12 ล้านปี พบที่บริเวณเหมืองถ่านหินเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เมื่อ 11 ปีก่อน โดย นายนิกร วงค์ไชย พนักงานธรณีวิทยาประจำเหมือง ชื่อชนิด เชียงม่วนเอนซิส จึงหมายถึง เต่าคูโอร่าแห่งเชียงม่วน
“เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการเริ่มต้นมาตั้งแต่หลายร้อยล้านปี เป็นเพื่อนร่วมยุคมากับไดโนเสาร์ แม้ว่าเต่าที่อยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์จะค่อยๆ สูญพันธุ์ไป แต่ก็มีการวิวัฒนาการเป็นเต่าชนิดใหม่ที่มีรูปร่าง ขนาด ลักษณะ แตกต่างกันไป โดยเต่าสกุล คูโอร่า เป็นเต่าน้ำจืดกลุ่มที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ในประเทศไทยรู้จักกันดีในชื่อ เต่าหับ (Cuora amboinensis) ทั้งนี้จากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะฟอสซิลกระดอง ที่พบที่เหมืองเชียงม่วน กับฟอสซิลเต่าชนิดอื่นในสกุลคูโอร่าที่เคยพบในประเทศจีน (C. pitheca) อายุประมาณ 8-9 ล้านปี และประเทศญี่ปุ่น (C. miyatai) อายุประมาณ 2 ล้านปี รวมทั้งกระดองของเต่าปัจจุบันชนิดอื่น ๆ ในสกุลนี้ พบว่ามีลักษณะที่แตกต่างไปจากเต่าชนิดอื่น ๆ ในสกุลนี้ทั้งหมด จึงได้รับการยืนยันว่าเป็นเต่าชนิดใหม่ของโลก ที่สำคัญคือฟอสซิลของเต่า คูโอร่า เชียงม่วนเอนซิส มีลักษณะใกล้เคียงกับเต่าสกุล คูโอร่า ในปัจจุบันมากที่สุด หลักฐานการค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการ เผยโฉมฟอสซิลเต่าสกุลปัจจุบันครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย และถือว่าเต่าคูโอร่าแห่งเชียงม่วนเป็นบรรพบุรุษเต่าหับที่เก่าแก่ที่สุดในโลก” ดร.วิไลลักษณ์ นาคศรี นิสิตปริญญาเอกสาขาบรรพชีวินวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าว
นอกจากนี้ ดร.วิไลลักษณ์ ยังได้อธิบายว่าเต่าสกุลคูโอร่ามีการแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเชียเท่านั้น โดยปัจจุบันพบทั้งสิ้น 10-12 ชนิด และที่พบเป็นฟอสซิล 3 ชนิด จากการศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของเต่าในสกุลคูโอร่าทั้งหมด พบว่าคูโอร่า เชียงม่วนเอนซิส มีสายวิวัฒนาการใกล้ชิดกับเต่าหับ (C. amboinensis) และเต่าสกุลนี้ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่าเต่าหับที่แพร่กระจายทั่วเอเชียในปัจจุบัน มีจุดกำเนิดมาจากประเทศไทย เมื่อ 12 ล้านปีก่อน ในยุคสมัยไมโอซีนตอนกลาง
illustration: Namo Saurus | http://facebook.com/kmonvish.lawan
นอกจากนี้ ดร.วิไลลักษณ์ ยังได้อธิบายว่าเต่าสกุลคูโอร่ามีการแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเชียเท่านั้น โดยปัจจุบันพบทั้งสิ้น 10-12 ชนิด และที่พบเป็นฟอสซิล 3 ชนิด จากการศึกษาความสัมพันธ์ทาง วิวัฒนาการของเต่าในสกุลคูโอร่าทั้งหมด พบว่าคูโอร่า เชียงม่วนเอนซิส มีสายวิวัฒนาการใกล้ชิดกับเต่าหับ และเต่าสกุลนี้ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่าเต่าหับที่แพร่กระจายทั่วเอเชียในปัจจุบัน มีจุดกำเนิดมาจากประเทศไทย เมื่อ 12 ล้านปีก่อน ในยุคสมัยไมโอซีนตอนกลาง
Wilailuck Naksri, Haiyan Tong, Komsorn Lauprasert, Varavudh Suteethorn and Julien Claude. 2013. A new species of Cuora (Testudines: Geoemydidae) from the Miocene of Thailand and its evolutionary significance. Geological Magazine. in press. doi: http://dx.doi.org/10.1017/S0016756812001082