Wednesday, May 25, 2022

[Entomology • 2022] Macromia siamensis • A New Species (Odonata: Anisoptera: Macromiidae) from North Thailand


Macromia siamensis
Makbun, 2022


Abstract
Macromia siamensis sp. nov., is described and illustrated based on male specimens collected from Ban Luang, Chom Thong, Chiang Mai province, Thailand. Macromia siamensis sp. nov. shares the hammer-shaped tip of posterior hamulus with M. amphigena Selys, 1871, M. sombui Vick, 1988, M. cydippe Laidlaw, 1922, M. vangviengensis Yokoi et Mitamura, 2002, M. clio Ris, 1916, M. malleifera Lieftinck, 1955, and M. macula Zhou, Wang, Shuai & Liu, 1994, but it differs from all of the mentioned species by a set of coloration characters including antehumeral stripe, abdominal pattern and facial markings.

Keywords: Odonata, dragonfly, Odonata Macromia, new species, checklist



Macromia siamensis sp. nov.


Noppadon Makbun. 2022. Macromia siamensis, A New Species from North Thailand (Odonata: Anisoptera: Macromiidae). Zootaxa5133(3); 346-354. DOI: 10.11646/zootaxa.5133.3.2

[ข่าว] แมลงปอมาโครสยาม (Macromia siamensis
แมลงปอชนิดใหม่ของไทยในปี 65!
แมลงปอมาโครเป็นแมลงปอขนาดปานกลางถึงใหญ่ อกและท้องมักจะมันวาวสีดำสลับเหลือง มักพบบินเหนือผิวน้ำไปมาตามลำธาร ทั่วโลกพบทั้งหมด 81 ชนิด ส่วนในประเทศไทยนั้นพบ 18 ชนิด (รวมชนิดที่ไม่สามารถระบุชนิดได้) กระจายทั่วประเทศ และแมลงปอมาโครสยาม (Macromia siamensis) ถือเป็นแมลงปอมาโครชนิดที่ 19 ของประเทศไทยครับ

แมลงปอมาโครสยามมีลักษณะเด่นคือ มีลักษณะและขนาดของลายสีเหลืองตามส่วนหัว อก และท้องที่ใหญ่ไม่เหมือนกับแมลงปอมาโครชนิดอื่น ๆ ที่พบในประเทศไทย นอกจากนี้ ด้านบนของปล้องท้องปล้องที่ 10 นูนขึ้นเล็กน้อย และลักษณะโครงสร้างอวัยวะเพศ (hamulus) ใต้ปล้องที่ 2 มีปลายคล้ายกับค้อนก็ต่างกับชนิดอื่น ๆ เช่นกันครับ

ชื่อชนิดของแมลงปอมาโครสยาม ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับกลุ่มสยามเอ็นซิส (siamensis.org) ที่คอยสนับสนุนและช่วยเหลือการศึกษาแมลงปอของประเทศไทยของผู้บรรยายมาโดยตลอด และยังตั้งชื่อตามประเทศที่พบเจอแมลงปอชนิดใหม่นี้ครั้งแรกนั่นคือ สยาม ชื่อเก่าของประเทศไทยนั่นเองครับ แมลงปอชนิดใหม่นี้พบได้เพียงในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น สถานภาพปัจจุบันค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะไม่ได้มีการพบเห็นมาหลายปีแล้วหลังจากค้นพบ ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสภาพพื้นที่ครับ