Monday, October 5, 2015

[Botany • 2015] Musa nanensis Swangpol & Traiperm | กล้วยศรีน่าน • A New Banana (Musaceae) Species from Northern Thailand


กล้วยศรีน่าน (Kluai Si Nan)
Musa nanensis Swangpol & Traiperm

Abstract
A new species of banana (Musaceae), Musa nanensis Swangpol & Traiperm, from Nan, Thailand, is described and illustrated. Based on vegetative features, M. nanensis could be superficially categorized as related to M. laterita; however, it possesses several unique floral characters from the rest of the genus Musa, especially its six tepals and anthers, each fused at the base. A key to banana species of northern Thailand, based on morphology, is provided. The plant was found in a single location and is threatened with extinction due to heavy deforestation in the region.

Keywords: Autapomorphic characters, floral morphology, leaf anatomy, morphological characters, syntepal



Distribution — Musa nanensis was collected from only one locality closed to the Thai-Lao border in Changwat Nan, Thailand. However, it is expected that this species will be found across the border in Laos PDR.

Ecology — The taxon was found at 835 m altitude in the dry evergreen forest, by streams in a valley in a lower mountainous forest. Its flowering time is year round.

Conservation — Musa nanensis is an extremely rare plant. Since the first collection in 2002 until 2012, it has been seen by the authors only at the type locality, where there are fewer than 50 plants. In addition, its habitat in the dry evergreen forest in Tambon Dong Phaya, Amphoe Bo Kluea of Changwat Nan is threatened by heavy deforestation and fragmentation. On the basis of IUCN (2014), the plant should be listed as critically endangered (CR), criteria D2, and therefore considered to be in need of urgent conservation.

Etymology — The new taxon was named Kluai Si Nan (กล้วยศรีน่าน) which means ‘banana pride of Nan,’ the northern province of Thailand where the specimens were originally discovered.


Sasivimon Chomchalow Swangpol, Paweena Traiperm, Jamorn Somana, Narongsak Sukkaewmanee, Prachaya Srisanga and Piyakaset Suksathan. 2015. Musa nanensis, A New Banana (Musaceae) Species from Northern Thailand.
 Systematic Botany. 40(2):426-432.  doi: 10.1600/036364415X688790



กล้วยศรีน่าน (Kluai Si Nan)
Musa nanensis Swangpol & Traiperm || วงศ์กล้วย (MUSACEAE)


กล้วยศรีน่านเป็นกล้วยชนิดใหม่ของโลกที่เพิ่งได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา กล้วยศรีน่านเป็นกล้วยป่าขนาดกลางสูงราว 180 ซม. ลักษณะที่โดดเด่นคือมีปลีสีแดงส้ม ก้านปลีขนานพื้นและโค้งตั้งขึ้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ มีเกสรเพศผู้ 6 อัน แตกต่างจากกล้วยชนิดอื่นในโลกที่มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ผลของกล้วยศรีน่านมีเมล็ดสีดำแข็งจำนวนมาก รับประทานได้แต่เนื้อน้อยมาก กล้วยศรีน่านถูกพบในพื้นที่ป่าดิบแล้ง ในหุบเขาใกล้ลำธาร และพบเพียง 5-10 กอเท่านั้น อีกทั้งอยู่ในพื้นที่ป่าที่มีแนวโน้มจะถูกบุกรุกแผ้วถางทำลาย หากพิจารณาด้วยหลักเกณฑ์ของ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources) พบว่าเป็นพืชที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ กล้วยศรีน่านเป็นพืชชนิดแรกที่ตั้งชื่อให้จังหวัดน่าน โดยพบเป็นครั้งแรกที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และยังไม่พบในพื้นที่อื่นอีกเลย พิกัดที่พบจึงขอปกปิดไว้เพื่อความปลอดภัย



ขณะนี้มีการนำเข้ามาในห้องปฏิบัติเพื่อการขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยหวังว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนต้นให้มากขึ้น กล้วยศรีน่านถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดย ดร. ปรัชญา ศรีสง่า หัวหน้าส่วนหอพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จากนั้น 10 ปีต่อมาได้แจ้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าไปตรวจสอบและพบว่าเป็นกล้วยชนิดใหม่ จึงได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมทั้งด้านสัณฐานวิทยา และกายวิภาคศาสตร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา ไตรเพิ่ม เพื่อยืนยันความแตกต่างจากกล้วยป่าชนิดอื่น และตีพิมพ์ชื่อชนิดใหม่ในวารสารซิสเตมาติก โบตานี (Systematic Botany) ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558



ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกล้วยป่าราว 10 ชนิด เช่น กล้วยหก กล้วยบัวสีส้ม กล้วยศรีนรา กล้วยนวล กล้วยผา เป็นต้น กระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณชายป่าบนเทือกเขาต่างๆ กล้วยศรีน่านเป็นชนิดที่ 11 ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2551 อาจารย์ศศิวิมลและทีมสำรวจกล้วยของมหาวิทยาลัยมหิดลได้พบกล้วยชนิดใหม่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย และตั้งชื่อว่ากล้วยนาคราช (Musa serpentina Swangpol & Somana)