Wednesday, July 20, 2011

[Ichthyology • 2010] ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม | Oryzias songkhramensis • new ricefish (Adrianichthyidae) from northeasthern Thailand & central Laos


ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม Oryzias songkhramensis

ABSTRACT
A new ricefish, Oryzias songkhramensis n. sp., is described on the basis of fifty-one specimens (12.9 - 19.0 mm SL) from three localities in the Songkhram and Mekong basins in northeast Thailand and from two localities in Laos. The new species is distinguished from all other congeners by possessing the following combination of characters: anal-fin rays 15 - 16 (modally 16), bony contact organs on the anal-fin rays in males; a relatively anterior dorsal fin origin, opposite anal fin 13 - 14 (modally 14); vertebrae 27 - 29 (modally 28); cycloid scales 26 - 29 (modally 27) in lateral series, and predorsal scales 19-21 (modally 21). Oryzias songkhramensis n. sp. is similar to O. mekongensis in the number of dorsal-fin rays and branchiostegal rays, but differs from the latter in having fewer vertebrae, a lower number of scales in the predorsal and lateral scale series, and black and pale yellow marginal bands on the dorsal and ventral portions of the caudal fin (vs. bright orange and black marginal bands on the dorsal and ventral portions of the caudal fin in O. mekongensis). In addition, both the principal component analysis (PCA) and canominal discriminant analysis (CDA) for morphometric characters showed that O. songkhramensis and O. mekongensis differed from each other, although the morphological differences in O. songkhramensis were larger than those in both O. minutillus and O. mekongensis. Analysis of the phylogenetic relationships of six Oryzias species, based upon partial sequences of the mitochondrial control region, revealed three important groups; the javanicus, celebensis and mekongensis or latipes groups, and a close relationship between O. songkhramensis from Thailand and Laos (bootstrap support of 100%) with O. mekongensis as a sister group. The results of the phylogenetic study showed a tendency to classify O. songkhramensis as a member of the latipes group.

KEY WORDS: Oryzias, Adrianichthyidae, bony contact organs, Thailand, Laos


FIGURE 2. Oryzias songkhramensis sp. nov., holotype, KUMF 7021, 16.7 mm SL, male; Thailand: Rattanawapi, Nakhon Phanum province, Mekong basin, lateral view. Bar indicates 4 mm.

FIGURE 3. Oryzias songkhramensis n. sp., upper: holotype, KUMF 7021, male; lower: paratype, NIFI 3390,
female. Bar indicates 5 mm.

FIGURE 9. Geographic distribution of Oryzias sp. in S.E.Asia. O. songkhramensis n. sp. (solid circles), O.
minutillus (open circles), O. mekongensis (open triangles) and O. pectoralis (solid triangles), based on the
specimens examined in these studies.


Magtoon, W. 2010. Oryzias songkhramensis, a new species of ricefish (Beloniformes; Adrianichthyidae) from the northeast Thailand and central Laos. Tropical Natural History, 10: 107-129.: http://www.biology.sc.chula.ac.th/TNH/v10%20no1/9%20Magtoon%20107-129.pdf


(23 ก.ค.) รศ.ดร.วิเชียร มากตุ่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ในฐานะนักวิจัยด้านมีนะวิทยา ซึ่งค้นคว้าวิจัยด้านสายพันธุ์ปลา เปิดเผยว่า ขณะนี้ มศว. ได้ค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ในนาข้าวของโลก ได้ตั้งชื่อว่า Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 และยังไม่ได้ตั้งชื่อภาษาไทยซึ่งปลาดังกล่าวค้นพบในเขตลุ่มแม่น้ำโขง เขตอำเภอรัตนวาปี จ.หนองคาย นอกจากนี้ยังพบปลาสายพันธุ์นี้ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ บริเวณพื้นที่ลาวตอนกลาง ทั้งนี้การค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นถึงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติในเขตลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย ส่วนลักษณะของปลาชนิดนี้จะเป็นปลาในนาข้าว ขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อาศัยอยู่กันเป็นฝูงและกินตัวอ่อนของพวกยุงเป็นอาหาร และยังกินตัวอ่อนของแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งเป็นการควบคุมความสมดุลของธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงในนาข้าวมากจนเกินความจำเป็น

รศ.ดร.วิเชียว กล่าวต่อไปว่า ทุกวันนี้เราพบปลาในนาข้าวทั้งสิ้น 24 สปีชี่ จากทั่วโลก Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 จึงถือเป็นสปีชี่ที่ 25ของโลก และที่ผ่านมาประเทศไทยพบปลาในนาข้าวมาแล้วทั้งสิ้น 4 สปีชี่ หากรวม Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 ทำให้ประเทศไทยค้นพบปลาในนาข้าวทั้งสิ้น 5 สปีชี่ อย่างไรก็ตาม การค้นพบครั้งนี้จะทำให้วงการมีนะวิทยาเกิดการตื่นตัวมากขึ้น และจะเป็นประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะด้านมีนะวิทยา ความรู้ทางด้านปลาในนาข้าว และขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจอย่างมาก โดย มศว. มีความร่วมมือกับ 3 มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น คือ ม.โตเกียว ม.มินาฮาตะ และม.ชินชู ศึกษาปลาในนาข้าวในแถบทวีปเอเชียด้วย

“ทรัพยากรธรรมชาติของไทยมีหลายชนิดที่น่าสนใจและน่าศึกษา ดังนั้นผมอยากให้คนไทยทุกคนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการช่วยกันรักษาแม่น้ำลุ่มน้ำเดิมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่านำปลาต่างถิ่นไปปล่อยลงในแม่น้ำ เพราะปลาต่างถิ่นจะมีลักษณะดุร้าย และกัดปลาในพื้นถิ่น ขณะนี้ปลาต่างถิ่นสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับลุ่มน้ำในประเทศไทยอย่างมาก เพราะปลาต่างถิ่นจะมากินไข่ปลาพื้นถิ่นสุดท้ายปลาพื้นถิ่นจะสูญพันธุ์ และส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยา โรคระบาดต่างๆ จะเพิ่มและรุนแรงขึ้น เพราะระบบวงจรถูกทำลาย” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว.

ข่าวจาก DailyNews.co.th